วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมลีลามือ

คำนำ


รายงาน เรื่องการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาฉบับนี้ ผู้รายงาน ได้รวบรวมความเป็นมา และแนวความคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา มาแยกแยะและพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อดู ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้รายงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา ต่อไป


ศรีวรรณ ปริญญาศาสตร์
นักศึกษา ป.บัณฑิตไทยเข้มแข็ง รุ่นที่ 4 เลขที่ 5 ผู้รายงาน









สารบัญ


หนา


คำนำ
สารบัญ
ความเป็นมาแลและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา 1
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา 2
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษา 3
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา 7ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา 10
สรุปผลการวิเคราะห์นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา 11
ข้อเสนอแนะ 13
เอกสารอ้างอิง 14











รายงาน
เรื่อง การวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาหรือเทคโนโลยีทางการศึกษา

จัดทำโดย
นางศรีวรรณ ปริญญาศาสตร์
นักศึกษา ป.บัณฑิตไทยเข้มแข็ง
รุ่นที่ 4 เลขที่ 5

การวิเคราะห์เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความ เข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งรวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอย่างแท้จริง ดังนั้น การวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นการแยกแยะถึงความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยผู้รายงานจะได้กล่าวถึงในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคน เป็นเกณฑ์ ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้างการใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิด ขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียว เชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ ก็ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อม ในการเรียน เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ถ้าหากสามารถจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลา เพื่อการสอน หรือ ตารางสอน มักจัดโดยอาศัยความสะดวก เป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียนเป็นปี ในปัจจุบันนี้ ได้มีความคิดในการจัด เป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้น ๆ แต่สอนบ่อยครั้งและการเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่าง ๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้ เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษา ในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นจะต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัย เกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรม ที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียน จะสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผล
สูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจ ในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาและประหยัดเวลา ในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบัน มีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้ง นวัตกรรม ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่เช่นการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) การใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต(Internet) เหล่านี้เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษา มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผู้เรียน สามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน ช่วยให้ประหยัดเวลา ในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) การใช้สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น ข้อดีของการนำนวัตกรรมไปใช้ 1. ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น 2. ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเรียนรู้ 3. ไม่ทำให้เกิดการเบื่อหน่าย 4. ทำให้โลกของผู้เรียนกว้างขึ้นไม่จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ ของการศึกษาแบบเก่า 5. เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้มีความคิดที่อยากเป็นนักพัฒนาและมีความคิดสร้างสรรค์
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษา
นักการศึกษาที่เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาที่มีส่วนวางรากฐานทางเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ยุค ตามช่วงระยะเวลาดังนี้
ยุคเริ่มแรก จนถึง ปี ค.ศ.1900
กลุ่มโซฟิสต์ (450-350 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกลุ่มนักการศึกษา (Elder Sophists) เป็นผู้ริเริ่มปูพื้นฐานเทคโนโลยีและการสอน มีการใช้เทคโนโลยี การจัดองค์กรสังคม เน้นพัฒนาการที่ประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่ต้องการรู้และบรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง เป็นการบรรยายแบบเปิดใจและสนทนาโดยให้ผู้เรียนใช้ความคิดเห็น มีการวิเคราะห์
โสเครติส (ค.ศ.399-470) คิดวิธีการสอนแบบ “Socratic Method” คือการสอนแบบใช้คำถามนำเป็นชุด ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้ได้และคำถามต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
อเบลาร์ด (ค.ศ.1079-1142) คิดวิธีการสอนที่เรียกว่า “Scholastic Method of Instruction” คือ การสอนเชิงพุทธิปัญญาโดยฝึกผู้เรียนให้อาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No)แสดงถึงวิธีการสอนของเขา ซึ่งให้แง่คิด ความรู้แก่ ผู้เรียนโดยเสนอ แนะว่า อะไรควรและไม่ควร นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจ และสรุปเลือกเองวิธีการของอเบลาร์ด เป็นจุดเริ่ม ต้นของการสืบสวน วิจัย ทดลองและค้นคว้า
คอมินิอุส (1592-1670) หลักการสอนของคอมินิอุสมีหลายประการที่สำคัญคือใช้วิธีการสอนโดยเลียนแบบธรรมชาติ เนื้อหาต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอน ควรเริ่มจากวัยเยาว์ ออกแบบให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน ควรจำแนก และเรียงเนื้อหา จากง่ายไปหายากสอนในสิ่งที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ควรมีแบบเรียนที่มีภาพประกอบควบคู่ไปกับการสอน สอนตามลำดับ ความสำคัญก่อนหลัง หลักการ แนวคิดทั้งหลาย ควรอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการเรียนควรใช้วิธีการสัมผัส โดยหาของจริงมาให้ผู้เรียนศึกษาประกอบคำอธิบายการอ่าน และเขียน ควรสอนด้วย กันและสัมพันธ์กับเนื้อหา เนื้อหาการสอนแบบบรรยาย และมีภาพประกอบ ไม่ควรจะลงโทษด้วยวิธีการเฆี่ยนตี เมื่อผู้เรียนประสบความล้มเหลว การเรียนวัตถุประสงค์เนื้อหาใด ๆ ควรเน้นลำดับ ตำแหน่ง และความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นโรงเรียนควรมีบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
คอมินิอุส ได้เขียนหนังสือที่สำคัญ เกี่ยวกับเทคนิคการสอนของเขาคือGreat Didactic และอีกเล่มคือโลกในรูปภาพ Orbus Pictus แนวความคิดของคอมินิอุสได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการเรียนการสอนจนปัจจุบัน
แลนคาสเตอร์ (1778 - 1838) ได้เริ่มการสอนระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) โดยครูสอนหัวหน้านักเรียน (พี่เลี้ยง) และหัวหน้านักเรียน จะสามารถสอนนักเรียนได้ ต่อไป วิธีการของเขา คือการจัดสภาพห้องเรียน ดำเนินการสอนและใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและประหยัด
เปสตาลอสซี่ (1746 - 1827) พัฒนาระบบการศึกษาที่ยึดหลักการศึกษา จากหนังสือ Emile ของรุสโซ โดยเน้นการศึกษา ตามความสนใจของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ ประยุกต์หลักจิตวิทยามาใช้ในการสอน ด้วยการเน้นประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับ (1) ตัวเลข (2) รูปร่าง และ (3) ชื่อ และความคิด
เฟรอเบล (1782 - 1852) เป็นผู้ที่ริเริ่มการอนุบาลศึกษา โดยเน้นการสอนให้มี (1) กิจกรรมอิสระ (2) ความคิดสร้างสรรค์ (3) การเข้าสังคม และ (4) การแสดงออกทางกาย ระบบการสอนของเฟรอเบล จึงครอบคลุมเนื้อหาและประสบการณ์ 3 ลักษณะได้แก่ (1) เกมและเพลง (2) การก่อสร้างและ (3) รางวัลและอาชีพ
แฮร์บาท (1776 - 1841) เป็นผู้เน้นทฤษฎีการสอน 4 ขั้น คือ (1) ความชัดเจน ในขั้นรับความรู้ใหม่ (2) การเชื่อมโยง ความรู้ใหม่กับความรู้เก่า (3) จัดระบบ คือ ขั้นรวบรวมแนวคิดหรือสรุป และ (4) วิธีการ คือขั้นของการนำไปใช้
ยุค ค.ศ.1900-ปัจจุบัน
ยุคนี้ เป็นยุคเริ่มต้นของการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการเรียนการสอนตามแนวคิดของ
นักการศึกษา ซึ่งเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้
ธอร์นไดค์ (1874-1949) เป็นผู้นำของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเชื่อมโยงนิยม โดยเน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและเขาได้เสนอกฎ 3 กฎ อันเป็นหลักการ ที่นำไปสู่เทคโนโลยี
การศึกษาดังนี้
กฎแห่งการฝึกหัดหรือกระทำซ้ำ
กฎแห่งผล
กฎแห่งความพร้อม
ดิวอี้และคิลแพทริก (1859-1965) ดิวอี้เป็นผู้นำกลุ่มพิพัฒนาการ และเน้นการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) เขาประกาศจิตวิทยาการเรียนรู้ ที่ไม่เน้นตัวแหย่ และการตอบสนองและได้นำแนวคิดใหม่ที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีจากการกระทำ สิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหา
คิลแพทริก เป็นผู้เผยแพร่ทฤษฎีของดิวอี้ และได้คิดวิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
ซึ่งครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม ช่วยเหลือผู้เรียนในการจัดขอบเขตการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำกิจกรรม ให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
มอนเตสซอรี่ (1870-1952) เป็นผู้นำทางอนุบาลศึกษา จัดตั้งบ้านเด็ก มีวิธีสอนคือ จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ให้ผู้เรียนมีอิสระและฝึกใช้ประสาทสัมผัส
เลวิน (1900 - 1947) เป็นนักจิตวิทยา ที่สนใจศึกษา เรื่องแรงจูงใจ บุคลิกภาพ จิตวิทยาสังคม และกลุ่มสัมพันธ์ ซึ่งเลวินได้กำหนดหลักการตามความคิดไว้ คือ (1) Life Space อวกาศแห่งชีวิต เป็นโลกทางความคิดของคน (2) Topological คือ โครงสร้างการรับรู้และปฏิกิริยาต่าง ๆ (3) Vector เน้นเรื่องทิศทางและความแข็งแรงของแรง ทั้งแรงขับ และแรงต้าน หลักการของเลวิน ได้กำหนดสูตรขึ้นมา ดังนี้ B = f (P,E) หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับการปะทะกัน ระหว่างบุคคล (P) และสิ่งแวดล้อม (E) ในสนามทางจิตวิทยา (Psychology Field)
สกินเนอร์ (1947) เจ้าของทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อการเสริมแรง ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของการเสริมแรง โดยเขาเสนอแนะว่า กระบวนการเรียน ควรจะแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ และแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ ควรมีการเสริมแรงให้สอด คล้องกับการประสบความสำเร็จของผู้เรียนโดยใช้เครื่องช่วยสอน ตามแนวคิดของสกินเนอร์มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของการเรียนการสอนแบบโปรแกรมจนพัฒนาเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่านักการศึกษาในยุค 1900 จนปัจจุบันมีการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยมีการสังเกตการตั้งสมมติฐานและการทดลอง เข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการศึกษา นอกจากแนวคิดของผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวมาแล้วยังมีแนวคิดและทฤษฎีของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านที่มีผลต่อเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ อันเป็นทฤษฎีการรับรู้และการหยั่งเห็น ทฤษฎีและแนวคิดของบลูมซึ่งจำแนกจุดมุ่งหมายเป็นด้านความรู้ เจตคติ และทักษะ โครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา มิติด้านปฏิบัติการ และมิติด้านผลผลิต ทฤษฎี และรูปแบบการสอนของ กาเย่ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดระบบการเรียน การสอน ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรุนเนอร์ ไปจนถึงทฤษฎีและแนวคิด ตามปรัชญาคอนสตรัคติวิสท์ ซึ่งแนวคิด และทฤษฎีเหล่านี้ มีผลต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีการ ศึกษาทั้งสิ้น
เทคโนโลยีการศึกษา เดิมเป็นเพียงการนำเอาเครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุ มาช่วยผู้สอนให้สามารถสอนผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายง่ายขึ้น โดยใช้คำเรียกว่า “โสตทัศนศึกษา” ต่อมาจึงได้มีการนำเอาวิธีระบบ และหลักการทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นตามพัฒนาการในหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งรวมทั้งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงเกิดคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ซึ่งมีหลักการสำคัญจากความรู้และผล
ผลิตด้านวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดระบบ เป็นส่วนสำคัญในการจัดการให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา จากการศึกษาของนักการศึกษาและการสอนของการศึกษา ที่ผ่านมา จะพบว่า แนวคิดและวิธีการเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นและหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์เนื้อหาและเทคนิคการสอนของโซฟิสต์ การสอนแบบสอบถามของโสเครติส การให้ ผู้เรียน ได้วิเคราะห์ตัดสินใจและสรุปอย่างเสรีของอเบลาร์ด และการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติสอดคล้องกับชีวิต ยึดความ
แตกต่างของผู้เรียน มีลำดับขั้นตอนของการสอน ใช้สื่อต่างๆ เข้ามาช่วยและมีบรรยากาศการเรียนที่ดีของคอมินิอุส การสอนระบบพี่เลี้ยงของแลนคาสเตอร์ การจัดสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นำประสบการณ์ตรงและหลักจิตวิทยามาสอนของเปสตาลอสซี่ การริเริ่มอนุบาลศึกษาของ เฟรอเบล และการสอนแบบมีขั้นตอนของแฮร์บาท ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ของการสอนที่อาศัยหลักการเรียนรู้ในยุคนั้น
วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา โดยเริ่มจากการใช้มือวาด การเขียน สื่อภาพ โสตทัศนวัสดุและสื่อสิ่งพิมพ์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย มาจนถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการดังกล่าวคู่ขนานไปกับยุคสมัยทางสังคมของอัลวิน ทอฟเฟลอร์ (1980 : 543) ซึ่งได้แก่ สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาดังกล่าว เมื่อร่วมกับแนวคิดของนักการศึกษาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอันมาก
เทคโนโลยีการศึกษา นั้น จะเริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามา มีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนและความ ก้าวหน้า ทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกล และการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center อีกทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย เห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษามีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นและประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษา จึงถือได้ว่า เป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษา ด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วนประกอบย่อยทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
สำหรับความเป็นมาของการเกิดแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา หากจะมองตามการเกิดขึ้นของแนวคิดกับการปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่าง ก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ความรู้ประเภทนี้ มักจะเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษาค้นคว้า
ทดลองจากแนวคิด หรือหลักการทฤษฎี ที่มีคิดขึ้นเอง หรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจัง เช่น การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุ ต่อมาจึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบความสำเร็จ
2. เกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่ แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิด หรือทฤษฎีความรู้
ประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือ เรื่องของธรรมชาติ แต่นักคิดพยายามศึกษา และทำความเข้าใจถึงความเป็นไปเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็นแนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต หรือสังเคราะห์ ให้เกิดแนวคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเป็นไปต่าง ๆ
ความเป็นมาของแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในระยะแรก ๆ จึงเป็นลักษณะของการกระทำที่เป็นอยู่แล้ว หรือเป็นไปตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การใช้รูปภาพ หรือ สื่อ อย่างง่าย ๆ มาประกอบการสอนหรือการบรรยาย โดยไม่ได้คิดถึงหลักการหรือทฤษฎีใด ๆ เพียงแต่คิดตามความความเข้าใจว่าย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดีกว่าการสอนโดยไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ส่วนแนวความคิดในยุคหลัง ๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นการพยายามนำเอาแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพราะแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักได้รับการพิสูจน์หรือผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้ว

ความหมายของเทคโนโลยี
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่แล้ว มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้ว สามารถช่วยให้การทำงาน มีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment) เทคโนโลยี มิได้มีความหมายเฉพาะ การใช้เครื่องจักรกล อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การปฏิบัติหรือดำเนินการใดๆ ที่ใช้ความรู้วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าหมายถึงวิทยาการ ที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีนั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยี ในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยี ในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุ และอุปกรณ์ ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยี ในลักษณะผสมของกระบวนการ และผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ให้ที่มา และความหมายคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และlogia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
บราวน์ (Brown) กล่าวว่าเทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำ ไปสู่ผลในทางปฏิบัติ ส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่งเทคโนโลยีหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบโดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อได้รูปแบบของการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ระเบียบวิธีกระบวนการตลอดจน ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงาน ให้มีมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยี จะช่วยให้การทำงานบรรลุผล ตามเป้าหมาย ได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัด ทั้งเวลาและแรงงานในการทำงาน ด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันนี้ การดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้เทคโนโลยี เข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยี จึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆ ทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการ
แพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆ ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีการ ศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด (Good 1973)ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มา
ประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการ
ศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์ และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ ทั้งเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้าน การขยายงาน และด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่าง ๆ ระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์ และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่นโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
โคลี, แครดเลอร์, และเอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ฟิล์ม สทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.ศ. 2523 – 2532 (ทศวรรษ 1980s) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้และปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์โดยนำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาการศึกษา ให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา หากพิจารณามุมมองของเทคโนโลยีทางการศึกษาพบว่านวัตกรรมทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่เน้น การประยุกต์ความรู้ทางมาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการศึกษา และนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นสิ่งที่เอื้อต่อกันในการปรับปรุงความรู้ กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษาให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่อง จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation and Technology) เกี่ยวข้องกับ การระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล มาประยุกต์ให้เป็นระบบใหม่ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่เป็นจริงในการแก้ปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม Educational Innovation and Technology อาศัย พื้นฐานความรู้หลายด้าน เช่น โสตทัศนศึกษา การวัดผล จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว การศึกษาพิเศษ การบริหารการศึกษา รวมทั้ง ความรู้ด้านอื่น ๆ อีกมาก ปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เน้นที่จะศึกษาด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเรียนด้วยตนเอง (Self Instruction) 2. การเรียนการสอนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) 3. การแสดงหานวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นโดยการเข้าสู่ระบบ(System Approach) 4. โสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) 5.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) 6. การใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 7. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) 8. สื่อการศึกษามวลชน (Mass Educational) เช่น วิทยุ และโทรทัศน์ทางการศึกษา 9. ความเสมอ 10. ให้ความเสมอภาคทางการศึกษาทุกท้องถิ่น 11. ให้ความรู้ทางจิตวิทยาสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่ 12. การศึกษาตลอดชีพ (Life long Education) 13. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 14. การศึกษาทางอินเตอร์เน็ต เช่น Web-Base Instruction E-learning เป็นต้น
สรุปผลการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา เดิมเป็นเพียงการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุ มาช่วยผู้สอนให้สามารถสอนผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายง่ายขึ้น โดยใช้คำเรียกว่า “โสตทัศนศึกษา” ต่อมาจึงได้มีการนำเอาวิธีระบบ และหลักการทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นตามพัฒนาการในหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งรวมทั้งเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจึงเกิดคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” หรือในปัจจุบันนี้จะเรียกว่า นวัตกรรม การศึกษา ซึ่งมีหลักการสำคัญจากความรู้ และผลผลิตด้านวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และวิศวกรรม

ศาสตร์โดยใช้วิธีการจัดระบบเป็นส่วนสำคัญในการจัดการให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
จากการศึกษาของนักการศึกษา และการสอนของการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่า แนวคิด และวิธีการเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้น และหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา และเทคนิคการสอนของโซฟิสต์ การสอนแบบสอบถามของโสเครติส การให้ผู้เรียน ได้วิเคราะห์ตัดสินใจและสรุปอย่างเสรีของอเบลาร์ด และการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติสอดคล้องกับชีวิต ยึดความแตกต่างของผู้เรียน มีลำดับขั้นตอนของการสอน ใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาช่วยและมีบรรยากาศการเรียนที่ดีของคอมินิอุส การสอนระบบพี่เลี้ยงของแลนคาสเตอร์ การจัดสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นำประสบการณ์ตรงและหลักจิตวิทยามาสอนของเปสตาลอสซี่ การริเริ่มอนุบาลศึกษาของ เฟรอเบล และการสอนแบบมีขั้นตอนของแฮร์บาท ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ของการสอน ที่อาศัยหลักการเรียนรู้ ในยุคนั้น วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษาเริ่มจากการใช้มือวาด การเขียน สื่อภาพ โสตทัศนวัสดุและสื่อสิ่งพิมพ์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย มาจนถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการดังกล่าวคู่ขนานไปกับยุคสมัยทางสังคมของอัลวิน ทอฟเฟลอร์ (1980 : 543) ซึ่งได้แก่สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา ดังกล่าว เมื่อร่วมกับแนวคิดของนักการศึกษา ทำให้เกิดความเปลี่ยน แปลงของขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา เป็นอันมาก เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามา มีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออก แบบระบบการเรียนการสอน และความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบหรือตามอัธยาศัยไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกลและการศึกษาตลอดชีวิต รวม ทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center รวมทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษา มีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้น และประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษา ถือเป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวม ลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบย่อย ขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วน ประกอบย่อยทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
สำหรับความเป็นมาของการเกิดแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาหากมองตามการเกิดขึ้นของแนว คิดกับการปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่างก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือเกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ความรู้ประเภทนี้มักเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองจากแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีคิดขึ้นเองหรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจังเช่นการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุต่อมา จึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบ ความสำเร็จเกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิดหรือทฤษฎี ความรู้ประเภทนี้ มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือเรื่องของธรรมชาติ แต่นักคิด ก็จะพยายามศึกษา และทำความเข้าใจถึง ความเป็นไปเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็น แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตหรือสังเคราะห์ ให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเป็นไปต่าง ๆ
ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา ในระยะแรก ๆ จึงเป็นลักษณะของการกระทำที่เป็นอยู่แล้วหรือเป็นไปตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไปเช่นการใช้รูปภาพ หรือ สื่อ อย่างง่าย ๆ มาประกอบการสอนหรือการบรรยายโดยไม่ได้คิดถึงหลักการหรือทฤษฎีใด ๆ เพียงแต่คิดตามความเข้าใจว่าย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดีกว่าการสอนโดยไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ส่วนแนวความคิดในยุคหลัง ๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นการพยายามนำเอาแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้เพราะแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักได้รับการพิสูจน์หรือผ่านการศึกษาวิจัยมา แล้ว

ข้อเสนอแนะ
หลังจากได้วิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยละเอียดดีแล้ว ควรทำความเข้าใจด้วยตนเองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาและนำนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใหม่มาต่อยอด











เอกสารอ้างอิง

กิดานันท มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2546). สาระน่ารู้ทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). มิติที่ 3 ทางการศึกษา : สานฝันสู่ความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2536). พัฒนาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กุมุท. (2537). แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสอน. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อ
สารการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2545). แนวทางปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการ
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กราฟฟิคโกร.
สุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ และคณะ. 2540. พจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไอคิวบุคเซ็นเตอร์.
สาโรช โศภีรักข์. (2546). รากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Briggs, Leslie J. (1977) . Insturction Design : Principles and Application. Educational Technology
Publications, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey.
Gagene, R.M. (1985). The Conditions of Learning and theory of Instruciton (4 th ed.). New York :
Holt, Rinehart & Winston, 1985.
Good, C ., (1973). Dictionary of Education. (3 rd ed.), New York: McGraw – Hill Book Company.
“What is the history of the field ?”. AECT. Avalable : http://www.aect.org/standards/history.html.
June 5, 2004.
Saettler,L.Paul. (1990). The Evolution of American Educational Technology. Colorado: Libraries
Unlimited, INC.















ภาคผนวก








นวัตกรรมลีลามือสำหรับเด็กปฐมวัย
















นวัตกรรมลีลามือสำหรับเด็กปฐมวัย
















นวัตกรรมลีลามือสำหรับเด็กปฐมวัย
















นวัตกรรมลีลามือสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัตถุประสงค์/การนำไปใช้


ตัวอย่างลีลามือ


ข้อเสนอแนะ


สรุป


ความหมายของเทคโนโลยี


ข้อดี


ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา


ลีลามือ

คำนำ


รายงาน เรื่องการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาฉบับนี้ ผู้รายงาน ได้รวบรวมความเป็นมา และแนวความคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา มาแยกแยะและพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อดู ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้รายงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา ต่อไป


ศรีวรรณ ปริญญาศาสตร์
นักศึกษา ป.บัณฑิตไทยเข้มแข็ง รุ่นที่ 4 เลขที่ 5 ผู้รายงาน









สารบัญ


หนา


คำนำ
สารบัญ
ความเป็นมาแลและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา 1
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา 2
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษา 3
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา 7ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา 10
สรุปผลการวิเคราะห์นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา 11
ข้อเสนอแนะ 13
เอกสารอ้างอิง 14











รายงาน
เรื่อง การวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาหรือเทคโนโลยีทางการศึกษา

จัดทำโดย
นางศรีวรรณ ปริญญาศาสตร์
นักศึกษา ป.บัณฑิตไทยเข้มแข็ง
รุ่นที่ 4 เลขที่ 5

การวิเคราะห์เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความ เข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งรวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอย่างแท้จริง ดังนั้น การวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นการแยกแยะถึงความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยผู้รายงานจะได้กล่าวถึงในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคน เป็นเกณฑ์ ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้างการใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิด ขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียว เชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ ก็ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อม ในการเรียน เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ถ้าหากสามารถจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลา เพื่อการสอน หรือ ตารางสอน มักจัดโดยอาศัยความสะดวก เป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียนเป็นปี ในปัจจุบันนี้ ได้มีความคิดในการจัด เป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้น ๆ แต่สอนบ่อยครั้งและการเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่าง ๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้ เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษา ในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นจะต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัย เกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรม ที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียน จะสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผล
สูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจ ในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาและประหยัดเวลา ในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบัน มีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้ง นวัตกรรม ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่เช่นการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) การใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต(Internet) เหล่านี้เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษา มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผู้เรียน สามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน ช่วยให้ประหยัดเวลา ในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) การใช้สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น ข้อดีของการนำนวัตกรรมไปใช้ 1. ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น 2. ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเรียนรู้ 3. ไม่ทำให้เกิดการเบื่อหน่าย 4. ทำให้โลกของผู้เรียนกว้างขึ้นไม่จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ ของการศึกษาแบบเก่า 5. เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้มีความคิดที่อยากเป็นนักพัฒนาและมีความคิดสร้างสรรค์
ความเป็นมาและแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษา
นักการศึกษาที่เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาที่มีส่วนวางรากฐานทางเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ยุค ตามช่วงระยะเวลาดังนี้
ยุคเริ่มแรก จนถึง ปี ค.ศ.1900
กลุ่มโซฟิสต์ (450-350 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกลุ่มนักการศึกษา (Elder Sophists) เป็นผู้ริเริ่มปูพื้นฐานเทคโนโลยีและการสอน มีการใช้เทคโนโลยี การจัดองค์กรสังคม เน้นพัฒนาการที่ประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่ต้องการรู้และบรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง เป็นการบรรยายแบบเปิดใจและสนทนาโดยให้ผู้เรียนใช้ความคิดเห็น มีการวิเคราะห์
โสเครติส (ค.ศ.399-470) คิดวิธีการสอนแบบ “Socratic Method” คือการสอนแบบใช้คำถามนำเป็นชุด ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้ได้และคำถามต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
อเบลาร์ด (ค.ศ.1079-1142) คิดวิธีการสอนที่เรียกว่า “Scholastic Method of Instruction” คือ การสอนเชิงพุทธิปัญญาโดยฝึกผู้เรียนให้อาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No)แสดงถึงวิธีการสอนของเขา ซึ่งให้แง่คิด ความรู้แก่ ผู้เรียนโดยเสนอ แนะว่า อะไรควรและไม่ควร นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจ และสรุปเลือกเองวิธีการของอเบลาร์ด เป็นจุดเริ่ม ต้นของการสืบสวน วิจัย ทดลองและค้นคว้า
คอมินิอุส (1592-1670) หลักการสอนของคอมินิอุสมีหลายประการที่สำคัญคือใช้วิธีการสอนโดยเลียนแบบธรรมชาติ เนื้อหาต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอน ควรเริ่มจากวัยเยาว์ ออกแบบให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน ควรจำแนก และเรียงเนื้อหา จากง่ายไปหายากสอนในสิ่งที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ควรมีแบบเรียนที่มีภาพประกอบควบคู่ไปกับการสอน สอนตามลำดับ ความสำคัญก่อนหลัง หลักการ แนวคิดทั้งหลาย ควรอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการเรียนควรใช้วิธีการสัมผัส โดยหาของจริงมาให้ผู้เรียนศึกษาประกอบคำอธิบายการอ่าน และเขียน ควรสอนด้วย กันและสัมพันธ์กับเนื้อหา เนื้อหาการสอนแบบบรรยาย และมีภาพประกอบ ไม่ควรจะลงโทษด้วยวิธีการเฆี่ยนตี เมื่อผู้เรียนประสบความล้มเหลว การเรียนวัตถุประสงค์เนื้อหาใด ๆ ควรเน้นลำดับ ตำแหน่ง และความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นโรงเรียนควรมีบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
คอมินิอุส ได้เขียนหนังสือที่สำคัญ เกี่ยวกับเทคนิคการสอนของเขาคือGreat Didactic และอีกเล่มคือโลกในรูปภาพ Orbus Pictus แนวความคิดของคอมินิอุสได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการเรียนการสอนจนปัจจุบัน
แลนคาสเตอร์ (1778 - 1838) ได้เริ่มการสอนระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) โดยครูสอนหัวหน้านักเรียน (พี่เลี้ยง) และหัวหน้านักเรียน จะสามารถสอนนักเรียนได้ ต่อไป วิธีการของเขา คือการจัดสภาพห้องเรียน ดำเนินการสอนและใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและประหยัด
เปสตาลอสซี่ (1746 - 1827) พัฒนาระบบการศึกษาที่ยึดหลักการศึกษา จากหนังสือ Emile ของรุสโซ โดยเน้นการศึกษา ตามความสนใจของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ ประยุกต์หลักจิตวิทยามาใช้ในการสอน ด้วยการเน้นประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับ (1) ตัวเลข (2) รูปร่าง และ (3) ชื่อ และความคิด
เฟรอเบล (1782 - 1852) เป็นผู้ที่ริเริ่มการอนุบาลศึกษา โดยเน้นการสอนให้มี (1) กิจกรรมอิสระ (2) ความคิดสร้างสรรค์ (3) การเข้าสังคม และ (4) การแสดงออกทางกาย ระบบการสอนของเฟรอเบล จึงครอบคลุมเนื้อหาและประสบการณ์ 3 ลักษณะได้แก่ (1) เกมและเพลง (2) การก่อสร้างและ (3) รางวัลและอาชีพ
แฮร์บาท (1776 - 1841) เป็นผู้เน้นทฤษฎีการสอน 4 ขั้น คือ (1) ความชัดเจน ในขั้นรับความรู้ใหม่ (2) การเชื่อมโยง ความรู้ใหม่กับความรู้เก่า (3) จัดระบบ คือ ขั้นรวบรวมแนวคิดหรือสรุป และ (4) วิธีการ คือขั้นของการนำไปใช้
ยุค ค.ศ.1900-ปัจจุบัน
ยุคนี้ เป็นยุคเริ่มต้นของการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการเรียนการสอนตามแนวคิดของ
นักการศึกษา ซึ่งเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้
ธอร์นไดค์ (1874-1949) เป็นผู้นำของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเชื่อมโยงนิยม โดยเน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและเขาได้เสนอกฎ 3 กฎ อันเป็นหลักการ ที่นำไปสู่เทคโนโลยี
การศึกษาดังนี้
กฎแห่งการฝึกหัดหรือกระทำซ้ำ
กฎแห่งผล
กฎแห่งความพร้อม
ดิวอี้และคิลแพทริก (1859-1965) ดิวอี้เป็นผู้นำกลุ่มพิพัฒนาการ และเน้นการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) เขาประกาศจิตวิทยาการเรียนรู้ ที่ไม่เน้นตัวแหย่ และการตอบสนองและได้นำแนวคิดใหม่ที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีจากการกระทำ สิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหา
คิลแพทริก เป็นผู้เผยแพร่ทฤษฎีของดิวอี้ และได้คิดวิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
ซึ่งครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม ช่วยเหลือผู้เรียนในการจัดขอบเขตการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำกิจกรรม ให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
มอนเตสซอรี่ (1870-1952) เป็นผู้นำทางอนุบาลศึกษา จัดตั้งบ้านเด็ก มีวิธีสอนคือ จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ให้ผู้เรียนมีอิสระและฝึกใช้ประสาทสัมผัส
เลวิน (1900 - 1947) เป็นนักจิตวิทยา ที่สนใจศึกษา เรื่องแรงจูงใจ บุคลิกภาพ จิตวิทยาสังคม และกลุ่มสัมพันธ์ ซึ่งเลวินได้กำหนดหลักการตามความคิดไว้ คือ (1) Life Space อวกาศแห่งชีวิต เป็นโลกทางความคิดของคน (2) Topological คือ โครงสร้างการรับรู้และปฏิกิริยาต่าง ๆ (3) Vector เน้นเรื่องทิศทางและความแข็งแรงของแรง ทั้งแรงขับ และแรงต้าน หลักการของเลวิน ได้กำหนดสูตรขึ้นมา ดังนี้ B = f (P,E) หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับการปะทะกัน ระหว่างบุคคล (P) และสิ่งแวดล้อม (E) ในสนามทางจิตวิทยา (Psychology Field)
สกินเนอร์ (1947) เจ้าของทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อการเสริมแรง ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของการเสริมแรง โดยเขาเสนอแนะว่า กระบวนการเรียน ควรจะแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ และแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ ควรมีการเสริมแรงให้สอด คล้องกับการประสบความสำเร็จของผู้เรียนโดยใช้เครื่องช่วยสอน ตามแนวคิดของสกินเนอร์มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของการเรียนการสอนแบบโปรแกรมจนพัฒนาเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่านักการศึกษาในยุค 1900 จนปัจจุบันมีการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยมีการสังเกตการตั้งสมมติฐานและการทดลอง เข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการศึกษา นอกจากแนวคิดของผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวมาแล้วยังมีแนวคิดและทฤษฎีของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านที่มีผลต่อเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ อันเป็นทฤษฎีการรับรู้และการหยั่งเห็น ทฤษฎีและแนวคิดของบลูมซึ่งจำแนกจุดมุ่งหมายเป็นด้านความรู้ เจตคติ และทักษะ โครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา มิติด้านปฏิบัติการ และมิติด้านผลผลิต ทฤษฎี และรูปแบบการสอนของ กาเย่ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดระบบการเรียน การสอน ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรุนเนอร์ ไปจนถึงทฤษฎีและแนวคิด ตามปรัชญาคอนสตรัคติวิสท์ ซึ่งแนวคิด และทฤษฎีเหล่านี้ มีผลต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีการ ศึกษาทั้งสิ้น
เทคโนโลยีการศึกษา เดิมเป็นเพียงการนำเอาเครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุ มาช่วยผู้สอนให้สามารถสอนผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายง่ายขึ้น โดยใช้คำเรียกว่า “โสตทัศนศึกษา” ต่อมาจึงได้มีการนำเอาวิธีระบบ และหลักการทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นตามพัฒนาการในหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งรวมทั้งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงเกิดคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ซึ่งมีหลักการสำคัญจากความรู้และผล
ผลิตด้านวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดระบบ เป็นส่วนสำคัญในการจัดการให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา จากการศึกษาของนักการศึกษาและการสอนของการศึกษา ที่ผ่านมา จะพบว่า แนวคิดและวิธีการเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นและหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์เนื้อหาและเทคนิคการสอนของโซฟิสต์ การสอนแบบสอบถามของโสเครติส การให้ ผู้เรียน ได้วิเคราะห์ตัดสินใจและสรุปอย่างเสรีของอเบลาร์ด และการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติสอดคล้องกับชีวิต ยึดความ
แตกต่างของผู้เรียน มีลำดับขั้นตอนของการสอน ใช้สื่อต่างๆ เข้ามาช่วยและมีบรรยากาศการเรียนที่ดีของคอมินิอุส การสอนระบบพี่เลี้ยงของแลนคาสเตอร์ การจัดสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นำประสบการณ์ตรงและหลักจิตวิทยามาสอนของเปสตาลอสซี่ การริเริ่มอนุบาลศึกษาของ เฟรอเบล และการสอนแบบมีขั้นตอนของแฮร์บาท ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ของการสอนที่อาศัยหลักการเรียนรู้ในยุคนั้น
วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา โดยเริ่มจากการใช้มือวาด การเขียน สื่อภาพ โสตทัศนวัสดุและสื่อสิ่งพิมพ์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย มาจนถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการดังกล่าวคู่ขนานไปกับยุคสมัยทางสังคมของอัลวิน ทอฟเฟลอร์ (1980 : 543) ซึ่งได้แก่ สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาดังกล่าว เมื่อร่วมกับแนวคิดของนักการศึกษาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอันมาก
เทคโนโลยีการศึกษา นั้น จะเริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามา มีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนและความ ก้าวหน้า ทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกล และการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center อีกทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย เห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษามีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นและประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษา จึงถือได้ว่า เป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษา ด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วนประกอบย่อยทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
สำหรับความเป็นมาของการเกิดแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา หากจะมองตามการเกิดขึ้นของแนวคิดกับการปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่าง ก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ความรู้ประเภทนี้ มักจะเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษาค้นคว้า
ทดลองจากแนวคิด หรือหลักการทฤษฎี ที่มีคิดขึ้นเอง หรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจัง เช่น การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุ ต่อมาจึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบความสำเร็จ
2. เกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่ แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิด หรือทฤษฎีความรู้
ประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือ เรื่องของธรรมชาติ แต่นักคิดพยายามศึกษา และทำความเข้าใจถึงความเป็นไปเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็นแนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต หรือสังเคราะห์ ให้เกิดแนวคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเป็นไปต่าง ๆ
ความเป็นมาของแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในระยะแรก ๆ จึงเป็นลักษณะของการกระทำที่เป็นอยู่แล้ว หรือเป็นไปตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การใช้รูปภาพ หรือ สื่อ อย่างง่าย ๆ มาประกอบการสอนหรือการบรรยาย โดยไม่ได้คิดถึงหลักการหรือทฤษฎีใด ๆ เพียงแต่คิดตามความความเข้าใจว่าย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดีกว่าการสอนโดยไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ส่วนแนวความคิดในยุคหลัง ๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นการพยายามนำเอาแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพราะแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักได้รับการพิสูจน์หรือผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้ว

ความหมายของเทคโนโลยี
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่แล้ว มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้ว สามารถช่วยให้การทำงาน มีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment) เทคโนโลยี มิได้มีความหมายเฉพาะ การใช้เครื่องจักรกล อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การปฏิบัติหรือดำเนินการใดๆ ที่ใช้ความรู้วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าหมายถึงวิทยาการ ที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีนั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยี ในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยี ในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุ และอุปกรณ์ ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยี ในลักษณะผสมของกระบวนการ และผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ให้ที่มา และความหมายคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และlogia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
บราวน์ (Brown) กล่าวว่าเทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำ ไปสู่ผลในทางปฏิบัติ ส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่งเทคโนโลยีหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบโดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อได้รูปแบบของการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ระเบียบวิธีกระบวนการตลอดจน ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงาน ให้มีมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยี จะช่วยให้การทำงานบรรลุผล ตามเป้าหมาย ได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัด ทั้งเวลาและแรงงานในการทำงาน ด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันนี้ การดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้เทคโนโลยี เข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยี จึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆ ทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการ
แพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆ ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีการ ศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด (Good 1973)ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มา
ประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการ
ศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์ และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ ทั้งเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้าน การขยายงาน และด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่าง ๆ ระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์ และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่นโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
โคลี, แครดเลอร์, และเอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ฟิล์ม สทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.ศ. 2523 – 2532 (ทศวรรษ 1980s) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้และปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์โดยนำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาการศึกษา ให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา หากพิจารณามุมมองของเทคโนโลยีทางการศึกษาพบว่านวัตกรรมทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่เน้น การประยุกต์ความรู้ทางมาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการศึกษา และนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นสิ่งที่เอื้อต่อกันในการปรับปรุงความรู้ กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษาให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่อง จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation and Technology) เกี่ยวข้องกับ การระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล มาประยุกต์ให้เป็นระบบใหม่ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่เป็นจริงในการแก้ปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม Educational Innovation and Technology อาศัย พื้นฐานความรู้หลายด้าน เช่น โสตทัศนศึกษา การวัดผล จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว การศึกษาพิเศษ การบริหารการศึกษา รวมทั้ง ความรู้ด้านอื่น ๆ อีกมาก ปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เน้นที่จะศึกษาด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเรียนด้วยตนเอง (Self Instruction) 2. การเรียนการสอนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) 3. การแสดงหานวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นโดยการเข้าสู่ระบบ(System Approach) 4. โสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) 5.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) 6. การใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 7. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) 8. สื่อการศึกษามวลชน (Mass Educational) เช่น วิทยุ และโทรทัศน์ทางการศึกษา 9. ความเสมอ 10. ให้ความเสมอภาคทางการศึกษาทุกท้องถิ่น 11. ให้ความรู้ทางจิตวิทยาสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่ 12. การศึกษาตลอดชีพ (Life long Education) 13. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 14. การศึกษาทางอินเตอร์เน็ต เช่น Web-Base Instruction E-learning เป็นต้น
สรุปผลการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา เดิมเป็นเพียงการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุ มาช่วยผู้สอนให้สามารถสอนผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายง่ายขึ้น โดยใช้คำเรียกว่า “โสตทัศนศึกษา” ต่อมาจึงได้มีการนำเอาวิธีระบบ และหลักการทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นตามพัฒนาการในหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งรวมทั้งเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจึงเกิดคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” หรือในปัจจุบันนี้จะเรียกว่า นวัตกรรม การศึกษา ซึ่งมีหลักการสำคัญจากความรู้ และผลผลิตด้านวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และวิศวกรรม

ศาสตร์โดยใช้วิธีการจัดระบบเป็นส่วนสำคัญในการจัดการให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
จากการศึกษาของนักการศึกษา และการสอนของการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่า แนวคิด และวิธีการเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้น และหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา และเทคนิคการสอนของโซฟิสต์ การสอนแบบสอบถามของโสเครติส การให้ผู้เรียน ได้วิเคราะห์ตัดสินใจและสรุปอย่างเสรีของอเบลาร์ด และการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติสอดคล้องกับชีวิต ยึดความแตกต่างของผู้เรียน มีลำดับขั้นตอนของการสอน ใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาช่วยและมีบรรยากาศการเรียนที่ดีของคอมินิอุส การสอนระบบพี่เลี้ยงของแลนคาสเตอร์ การจัดสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นำประสบการณ์ตรงและหลักจิตวิทยามาสอนของเปสตาลอสซี่ การริเริ่มอนุบาลศึกษาของ เฟรอเบล และการสอนแบบมีขั้นตอนของแฮร์บาท ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ของการสอน ที่อาศัยหลักการเรียนรู้ ในยุคนั้น วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษาเริ่มจากการใช้มือวาด การเขียน สื่อภาพ โสตทัศนวัสดุและสื่อสิ่งพิมพ์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย มาจนถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการดังกล่าวคู่ขนานไปกับยุคสมัยทางสังคมของอัลวิน ทอฟเฟลอร์ (1980 : 543) ซึ่งได้แก่สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา ดังกล่าว เมื่อร่วมกับแนวคิดของนักการศึกษา ทำให้เกิดความเปลี่ยน แปลงของขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา เป็นอันมาก เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามา มีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออก แบบระบบการเรียนการสอน และความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบหรือตามอัธยาศัยไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกลและการศึกษาตลอดชีวิต รวม ทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center รวมทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษา มีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้น และประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษา ถือเป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวม ลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบย่อย ขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วน ประกอบย่อยทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
สำหรับความเป็นมาของการเกิดแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาหากมองตามการเกิดขึ้นของแนว คิดกับการปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่างก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือเกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ความรู้ประเภทนี้มักเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองจากแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีคิดขึ้นเองหรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจังเช่นการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุต่อมา จึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบ ความสำเร็จเกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิดหรือทฤษฎี ความรู้ประเภทนี้ มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือเรื่องของธรรมชาติ แต่นักคิด ก็จะพยายามศึกษา และทำความเข้าใจถึง ความเป็นไปเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็น แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตหรือสังเคราะห์ ให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเป็นไปต่าง ๆ
ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา ในระยะแรก ๆ จึงเป็นลักษณะของการกระทำที่เป็นอยู่แล้วหรือเป็นไปตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไปเช่นการใช้รูปภาพ หรือ สื่อ อย่างง่าย ๆ มาประกอบการสอนหรือการบรรยายโดยไม่ได้คิดถึงหลักการหรือทฤษฎีใด ๆ เพียงแต่คิดตามความเข้าใจว่าย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดีกว่าการสอนโดยไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ส่วนแนวความคิดในยุคหลัง ๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นการพยายามนำเอาแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้เพราะแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักได้รับการพิสูจน์หรือผ่านการศึกษาวิจัยมา แล้ว

ข้อเสนอแนะ
หลังจากได้วิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยละเอียดดีแล้ว ควรทำความเข้าใจด้วยตนเองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาและนำนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใหม่มาต่อยอด











เอกสารอ้างอิง

กิดานันท มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2546). สาระน่ารู้ทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). มิติที่ 3 ทางการศึกษา : สานฝันสู่ความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2536). พัฒนาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กุมุท. (2537). แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสอน. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อ
สารการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2545). แนวทางปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการ
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กราฟฟิคโกร.
สุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ และคณะ. 2540. พจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไอคิวบุคเซ็นเตอร์.
สาโรช โศภีรักข์. (2546). รากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Briggs, Leslie J. (1977) . Insturction Design : Principles and Application. Educational Technology
Publications, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey.
Gagene, R.M. (1985). The Conditions of Learning and theory of Instruciton (4 th ed.). New York :
Holt, Rinehart & Winston, 1985.
Good, C ., (1973). Dictionary of Education. (3 rd ed.), New York: McGraw – Hill Book Company.
“What is the history of the field ?”. AECT. Avalable : http://www.aect.org/standards/history.html.
June 5, 2004.
Saettler,L.Paul. (1990). The Evolution of American Educational Technology. Colorado: Libraries
Unlimited, INC.

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นางศรีวรรณ ปริญญาศาสตร์
เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2510
อายุ 43 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 5/450 หมู่บ้านตะวันนา
ต.บางกระสอ อ.เมือง
จ.นนทบุรี 11000
สอนอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์
ต.บางกระสอ อ.เมือง
จ.นนทบุรี 11000
สอนระดับ ปฐมวัย
ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู) รุ่น 4 ไทยเข้มแข็ง